 |
1.รากฐาน
การก่อสร้างระบบ PANOTECH เริ่มด้วยพื้นคอนกรีตตามวิธีการก่อสร้างปกติเหล็กยึดต้องยึดกับพื้นคอนกรีต เพื่อยึดกับแผ่น PANOTECH ใช้เหล็กยึดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม.ฝังในพื้นประมาณ 3 นิ้ว และฝังในแผ่นประมาณ 30 ซม. |
 |
2.การเตรียมแผ่น PANOTECH และพื้นที่ก่อสร้าง
แผ่น PANOTECH ที่มีน้ำหนักเบา สามารถตัดได้อย่างง่ายๆ ให้ได้รูปแบบที่กำหนด แล้วประกอบแผ่นขึ้นเป็นโครงสร้างผนังแผ่นสามารถยกย้ายได้สะดวก ในหน่วยงานก่อสร้างมีเศษวัสดุเหลือน้อยและสามารถเก็บทิ้งได้โดยไม่ยุ่งยากอะไร |
 |
3.การติดตั้งแผ่น PANOTECH
แผ่นจะตั้งโดยมีเหล็ก DOWELBAR สอดอยู่ระหว่างแผ่นฉนวนกับตะแกรงเหล็กผนัง จะได้แนวตามแนวเหล็กยึดเริ่มติดตั้งที่มุมก่อนจะทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น
|
 |
4. การค้ำยันแผ่น PANOTECH
แผ่นจะต้องค้ำยันให้ได้แนวดิ่งและแข็งแรงเพียงพอต่อสภาพการทำงานและแรงลม ค้ำยันทุกแผ่นด้านใดด้านหนึ่งก่อนเพื่อให้สามารถ ยัดคอนกรีตอีกด้านหนึ่ง
|
 |
5. การต่อแผ่น PANOTECH เข้าด้วยกัน
แผ่นที่อยู่ติดกับแผ่นถัดไปจะมีเหล็กตะแกรงทาบกัน 10 ซม. ให้ผูกเหล็กให้ติดกัน โดยผูกทุกจุดให้แน่นหนาทั้งสองด้านหรือจะใช้วิธีการเชื่อมหรือการใช้คลิ๊ปก็ได้
|
 |
6. ประตูและหน้าต่าง
ช่องเปิดสำหรับประตูและหน้าต่าง ตัดได้ด้วยกรรไกรตัดเหล็กขนาดเล็ก เพื่อตัดลวดและใช้มีดตัดแผ่นฉนวนออกโครงสร้างที่เหลือ จากการตัดช่องเปิดจะต้องแข็งแรงเพียงพอมุมของช่องประตูและหน้าต่าง จะต้องเสริมตะแกรงเหล็กขนาด 1 x 2 ฟุตในแนว 45 องศากับมุม แล้วจึงยึดวงกบ
|
 |
7. BOND BEAM และ BOND COLUMN
เพื่อที่จะเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างในบางกรณีด้วย bond beam และ bond column ซึ่งทำได้โดยการนำฉนวนส่วนหนึ่งออก ซึ่งเมื่อคอนกรีตหล่อจนเต็ม ก็จะทำหน้าที่เป็น คานและเสาได้ การเสริมเหล็กเพิ่มเติมที่ bond beam และ bond column ก็จะทำให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
|
 |
8. เหนือพื้นคอนกรีตล่างสุด
แผ่น PANOTECH สามารถใช้เป็นได้ทั้ง ผนัง พื้น หลังคา บันได เสา คาน ด้วยวิธีการต่อแบบง่าย ๆและระบบก่อสร้างธรรมดาหรือระบบสำเร็จรูปใด ๆ ก็สามารถนำมาประกอบเข้ากับระบบ PANOTECH ได้
|
 |
9. อุปกรณ์ต่าง ๆ
เมื่อติดตั้งแผ่น PANOTECH เข้าที่และค้ำยันได้แล้ว ก็สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ได้แก่ สายไฟ ท่อน้ำสายโทรศัพท์ เป็นต้น โดยสอดอุปกรณ์ต่าง ๆ ระหว่างแผ่นฉนวนกับตะแกรงเหล็ก การติดตั้งอุปกรณ์บางอย่างอาจจะต้องตัดฉนวนส่วนหนึ่งออกเพื่อให้มีเนื้อที่เพียงพอต่อการติดตั้ง เช่น เต้าเสียบสายไฟฟ้า เป็นต้น
|
 |
10. การผูกเหล็ก
แนวต่อทุกแนวจะต้องมีการเสริมตะแกรงเหล็กเพิ่มเติม ยกเว้น แนวต่อในแนวดิ่ง จะต้องผูกเหล็กให้แน่นทุกจุดจะโดยวิธีการผูกเหล็กด้วยมือ หรือเชื่อม หรือใช้คลิ๊ปยึด เป็นต้น
|
|
|
|
|